วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบครูผู้ช่วย

เต็งข้อสอบ การศึกษา 100 ข้อ ปี 52



ข้อ 1) ข้อใดเป็นความหมายของการศึกษา ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ?
1. กระบวนการฝึกอบรมจริยธรรมและการเสริมสร้างสติปัญญา
2. การเล่าเรียน การฝึกอบรม
3. กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
4. กระบวนการทั้งมวลที่มุ่งให้บุคคลเกิดการพัฒนาความสามารถ ทัศนคติ และจินตนาการ

ข้อ 2) Education is life เป็นแนวคิดของนักการศึกษาผู้ใด?
1. รุสโซ
2. ดิวอี้
3. อริสโตเติ้ล
4. ชุ้ลซ์

ข้อ 3) การศึกษาคือการลงทุน เป็นแนวคิดของนักการศึกษาผู้ใด?
1. รุสโซ
2. ดิวอี้
3. อริสโตเติ้ล
4. ชุ้ลซ์

ข้อ 4) ข้อใด ไม่เป็นความหมายของการศึกษา ของ จอนห์ ดิวอี?
1. การฝึกอบรมจริยธรรม
2. ความเจริญงอกงาม
3. กระบวนการทางสังคม
4. การสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต

ข้อ 5) การศึกษา คือ ความเจริญงอกงามของขันธ์ 5 เป็นแนวคิดของนักการศึกษาผุ้ใด?
1. สาโรช บัวศรี
2. พระพุทธเจ้า
3. พระราชมุนี
4. วิจิตร ศรีสอ้าน

ข้อ 6) หลักการจัดการศึกษาได้บัญญัติใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตราใด?
1. มาตรา 6
2. มาตรา 7
3. มาตรา 8
4. มาตรา 9

ข้อ 7) ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาได้บัญญัติไว้ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตราใด?
1. มาตรา 6
2. มาตรา 7
3. มาตรา 8
4. มาตรา 9

ข้อ 8) รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนเท่าใด?
1. ไม่น้อยกว่า 9 ปี
2. 9 ปี
3. ไม่น้อยกว่า 12 ปี
4. ไม่น้อยกว่า 15 ปี

ข้อ 9) เป็นหลักการจัดการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ยกเว้นข้อใด?
1. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
2. กระจายอำนาจสู่เขตพื่นที่การศึกษาและสถานศึกษา
3. เป็นการศึกษาตลอดชีวิต
4. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ข้อ 10) การจัดการศึกษา มีกี่รูปแบบ?
1. 2 รูปแบบ
2. 3 รูปแบบ
3. 4 รูปแบบ
4. 5 รูปแบบ

ข้อ 11) ข้อใดไม่ใช่รูปแบบของการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542?
1. การศึกษาตามอัธยาศัย
2. การศึกษาตลอดชีวิต
3. การศึกษาในระบบ
4. การศึกษานอกระบบ

ข้อ 12) การจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการ และระยะเวลา ในการจัดการศึกษาคือรูปแบบใด?
1. การศึกษาตามอัธยาศัย
2. การศึกษาตลอดชีวิต
3. การศึกษาในระบบ
4. การศึกษานอกระบบ

ข้อ 13) หลักการจัดการศึกษา ที่เน้น ผู้เรียนสำคัญที่สุด ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 อยู่ในมาตราใด?
1. มาตรา 21
2. มาตรา 22
3. มาตรา 23
4. มาตรา 24

ข้อ 14) การศึกษาในระบบ มีกี่ระดับ?
1. 2 ระดับ
2. 3 ระดับ
3. 4 ระดับ
4. 5 ระดับ

การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ...




ข้อ 15) ข้อใดกล่าวถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ได้ถูกต้อง?
1. มี 2 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
2. 3 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
3. 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
4. 4 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย

ข้อ 16) ข้อใด ไม่ใช่ระดับการศึกษาในระบบ?
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การศึกษาอุดมศึกษา
3. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
4. เป็นระดับการศึกษาในระบบทุกข้อที่กล่าวมา

ข้อ 17) การศึกษาที่กำหนดจุดหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการศึกษาสำเร็จที่แน่นอน เป็นการจัดการศึกษาตามข้อใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกนอกระบบ
3. การศึกษาตลอดชีวิต
4. การศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อ 18) การศึกษาที่ผู้เรียนเรียนด้วยตัวเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคมสภาพสิ่งแวดล้อม สื่อ หรือ แหล่งเรียนรู้อื่นๆเป็นการจัดการศึกษาแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกนอกระบบ
3. การศึกษาตลอดชีวิต
4. การศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อ 19) การศึกษาที่มีเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เป็นการจัดการศึกษาแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกนอกระบบ
3. การศึกษาตลอดชีวิต
4. การศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อ 20) Informal Education เป็นการจัดการศึกษารูปแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกษานอกระบบ
3. การศึกษาตามอัธยาศัย
4. การศึกษาตลอดชีวิต

ข้อ 21) non-formal Education เป็นการจัดการศึกษารูปแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกษานอกระบบ
3. การศึกษาตามอัธยาศัย
4. การศึกษาตลอดชีวิต

ข้อ 22) Formal Education เป็นการจัดการศึกษารูปแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกษานอกระบบ
3. การศึกษาตามอัธยาศัย
4. การศึกษาตลอดชีวิต

ข้อ 23) กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยัง เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามข้อใด?
1. ด้านวิชาการ
2. ด้านงบประมาณ
3. ด้านการบริหารงานบุคคล
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 24) การศึกษาสำหรับคนพิการต้องดำเนินการจัดการศึกษาอย่างไร?
1. จัดตั้งแต่แรกเกิด
2. จัดตั้งแต่พบความพิการ
3. จัดให้มีสิทธิ์เท่ากับคนปกติ
4. ถูกทั้งข้อ ก และ ข

ข้อ 25) บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่จดการศึกษา มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ ยกเว้น ข้อใด?
1. อุดหนุนจากรัฐ
2. มีใบประกอบวิชาชีพครู
3. ได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ในการอบรมเลี้ยงดู
4. ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา

ข้อ 26) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 มีความสอดคล้องกับปรัชญาสาขาใดมากที่สุด?
1. Reconstructionnism
2. Perenialism
3. Essentialism
4. Progressivism

ข้อ 27) หลักสูตรประสบการณ์ หรือ แบบกิจกรรมได้รับอิทธิพลจากปรัชญาในข้อใด?
1. Reconstructionnism
2. Existentialism
3. Essentialism
4. Progressivism

ข้อ 28) ปรัชญาในข้อใด เน้นความสำคัญของแต่ละบุคคลและการดำรงชีวิตในปัจจุบัน?
1. Reconstructionnism
2. Existentialism
3. Essentialism
4. Progressivism

ข้อ 29) คำว่า Education มีวิวัฒนาการมาจากคำใด?
1. Economy
2. Technology
3. Anthropology
4. Pedagogy

ข้อ 30) วิชาการศึกษาเป็นสาขาหนึ่งของศาสตร์ประเภทใด?
1. วิทยาศาสตร์
2. มนุษย์ศาสตร์
3. สังคมศาสตร์
4. ศิลปศาสตร์

ข้อ 31) การศึกษาคือความเจริญงอกงาม เป็นแนวคิดของนักการศึกษาใด?
1. รุสโซ
2. จอห์น ดิวอี้
3. เปสตาลอสซี่
4. จอห์นลอค

ข้อ 32) ผู้ที่ริเริ่มนำแนวคิดพุทธปรัชญามาใช้ในการศึกษาของไทย คือผู้ใด?
1. วิจิตร ศรีสอ้าน
2. อภิญโญ สาธร
3. พุทธทาสภิกขุ
4. สาโรช บัวศรี

ข้อ 33) ผู้ให้กำเนิดการศึกษาอนุบาล คือใคร?
1. รุสโซ
2. ดอลตัน
3. โฟรเบล
4. โรเบร์ต กาเย่

ข้อ 34) ปรัชญาของการแนะแนว ข้อใดกล่าวผิด?
1. คนย่อมมีศักยภาพเหมือนกัน
2. คนย่อมมีความเปลี่ยนแปลง
3. ทุกคนย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. คนย่อมมีปัญหาไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง

ข้อ 35) เด็กเกิดมาเปรียบเสมือนผ้าขาว เป็นแนวคิดของใคร?
1. กาเย่
2. วัตสันต์
3. รุสโซ
4. แมคาธี

ข้อ 36) วิชาใด ๆก็ตามสามารถทีจะสอนให้เด็กในช่วงทุกพัฒนาการ เป็นแนวคิดของใคร?
1. สกินเนอร์
2. บลูม
3. บรูเนอร์
4. ธอร์นใดค์

ข้อ 37) หลักการสอนของ แฮร์บาร์ต มีจำนวนกี่ขั้น?
1. 3 ขั้น
2. 4 ขั้น
3. 5 ขั้น
4. 6 ขั้น
“วิธีสอนตามขั้นทั้ง 5 ของแฮร์บาร์ต” (Herbartian Five Formal Steps)

1.ขั้นเตรียม (Preparation)
2.ขั้นสอน (Presentation)
3.ขั้นทบทวน (Association or Comparision)
4.ขั้นสรุป (Formulation or Generalization)
5.ขั้นใช้ (Application)
ข้อ 38) การจัดการศึกษาต้องยึดหลักตามข้อใด?
1. ผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้
2. ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
3. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 39) การจัดการศึกษาตัองเน้นความสำคัญด้านใด?
1. ด้านความรู้
2. ด้านคุณธรรม
3. ด้านกระบวนการเรียนรู้
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 40) ข้อใดกล่าวผิด?
1. การจัดการศึกษาต้องเน้นความรู้และทักษะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
2. การจัดการศึกษาต้องเน้นความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
3. การจัดการศึกษาต้องเน้นความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษาโดยเน้นการใช้ภาษาต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง
4. ไม่มีข้อใดกล่าวผิด

ข้อ 41) ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ กระบวนการจัดการเรียนรู้?
1. การจัดกิจกรรให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
2. การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานความรู้ด้านต่าง ๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
3. การจัดการเรียนรู้พยายามให้เกิดขึ้นภายในห้องเรียนหรือสถานศึกษาให้มากที่สุด
4. สนับสนุนให้ผู้สอนใช้วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

ข้อ 42) "ปัจจุบัน" มติคณะรัฐมนตรีให้อุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานกี่ปี?
1. 9 ปี
2. 12 ปี
3. 14 ปี
4. 15 ปี

ข้อ 43) ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี มีอัตราค่าหนังสือกี่บาทต่อคน สำหรับนักเรียนก่อนประถมศึกษา?
1. 600 บาท/คน
2. 100 บาท/คน
3. 200 บาท/คน
4. 800 บาท/คน

ข้อ 44) ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษามีอัตราเท่าใด?
1. 100 บาท / ภาคเรียน
2. 190 บาท / ภาคเรียน
3. 180 บาท / ภาคเรียน
4. 195 บาท / ภาคเรียน

ข้อ 45) ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี เครื่องแบบนักเรียน ประกอบด้วย เสื้อ/กางเกง/กระโปรง คนละ กี่ชุด/ปี?
1. 1 ชุด/ปี
2. 3 ชุด/ปี
3. 2 ชุด/ปี
4. 4 ชุด/ปี

ข้อ 46) ข้อใด"ไม่ใช่" กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี
1. กิจกรรมวิชาการ
2. กิจกรรมคุณธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด
3. ทัศนศึกษา
4. กิจการช่วยเหลือและบริการ

ข้อ 47) หลักการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวในมาตราใด?
1. มาตรา 22
2. มาตรา 23
3. มาตรา 24
4. มาตรา 25

ข้อ 48) หลักการประเมินผล ให้สถานศึกษาประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากข้อใด?
1. พัฒนาการของผู้เรียน
2. ความประพฤติ
3. การทดสอบควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 49) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดหลักสูตรแกนกลาง ไว้ในมาตราใด?
1. มาตรา 24
2. มาตรา 25
3. มาตรา 26
4. มาตรา 27

ข้อ 50) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ศาสตราจารย์วิลเลียม ซี แบกเลย์

ข้อ 51) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perenialism) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ศาสตราจารย์วิลเลียม ซี แบกเลย์

ข้อ 52) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivesm) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ศาสตราจารย์วิลเลียม ซี แบกเลย์

ข้อ 53) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาBuddhism คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ศาสตราจารย์วิลเลียม ซี แบกเลย์

ข้อ 54) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาบูรณาการนิยม หรือปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. ธีโอเดอร์ บราเมล
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ซอเรนคีร์ เคกอร์ด

ข้อ 55) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. ธีโอเดอร์ บราเมล
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ซอเรนคีร์ เคกอร์ด

ข้อ 56) กระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรพุทธศาสนา คือข้อใด?
1. ไตรสิกขา
2. อธิศิลสิกขา
3. สมาธิสิกขา
4. โยนิโสมนสิกา

ข้อ 57) สอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดและแก้ปัญหา คือ ผู้ใด?
1. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
2. จอห์น ดิวอี้
3. ดร.สาโรช บัวศรี
4. โฟรเบล

ข้อ 58) วิธีการสอนที่ใช้การอภิปรายถกเถียง โดยใช้เหตุผลประกอบ เป็นแนวคิดผู้ใด?
1. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
2. จอห์น ดิวอี้
3. ดร.สาโรช บัวศรี
4. โฟรเบล

ข้อ 59) บุคคลในข้อใดเป็ผู้ให้ความหมายของคำว่า หลักสูตร หมายถึง วิธีเตรียมเยาวชนให้มีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นสมาชิกที่สามารถสร้างผลผลิตให้แก่สังคมของเรา?
1. กู๊ด
2. ทาบา
3. วิชัย วงษ์ใหญ่
4. ธำรง บัวศรี

ข้อ 60) ข้อใดคือความหมายของหลักสูตร ที่กรมวิชาการกำหนดไว้?
1. หลักสูตรคือวิชาที่สอนซึ่งจะบ่งบอกความหมาย ขอบข่ายเนื้อหา แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดการเรียนการสดอนของครู
3. หลักสูตรคือ กลุ่มวิชา หรือ ประสบการณ์ที่กำหนดไว้
4. หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ข้อ 61) ข้อใด เป็นความหมายอง การพัฒนาหลักสูตร ได้ถูกต้องที่สุด?
1. การปรับปรุงหลักสูตรให้ดีขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่
3. การยกเลิกหลักสูตรเก่าแล้วทำหลักสูตรใหม่
4. การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดดีขึ้น

ข้อ 62) ปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อใดใช้ในการควบคุมทิศทางในการจัดการศึกษา?
1. พื้นฐานด้านจิตวิทยา
2. พื้นฐานด้านสังคม
3. พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา
4. พื้นฐานด้านเศรษฐกิจ การเมือง

ข้อ 63) ขั้นตอนแรกของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ ทาบา กำหนดคือข้อใด?
1. วินิจฉัยความต้องการ
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย
3. คัดเนื้อหาสาระ
4. จัดเนื้อหาสาระ

ข้อ 64) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ใช้แนวคิดจากปรัชญาการศึกษาแบบใด?
1. นิรันตรนิยม
2. ปฏิรูปนิยม
3. อัตถิภาวนิยม
4. พิพัฒนาการ

ข้อ 65) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ประกาศใช้เมื่อใด?
1. 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
2. 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
3. 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
4. 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2544

ข้อ 66) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ใช้พร้อมกันทุกชั้นเรียนทั่วประเทศเมื่อใด?
1. ปีการศึกษา 2544
2. ปีการศึกษา 2546
3. ปีการศึกษา 2548
4. ปีการศึกษา 2550

ข้อ 67) ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
1. มีโครงสร้างยืดหยุ่น
2. มีมาตณฐานการเรียนรุ้เป็นช่วงชั้น
3. กำหนดจุดหมายในภาพรวม 12 ปี
4. สถานศึกษากำหนดหลักสูตรแกนกลาง

ข้อ 68) หลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 มีทั้งหมดกี่ข้อ?
1. 3 ข้อ
2. 4 ข้อ
3. 5 ข้อ
4. 6 ข้อ

ข้อ 69) จุดหมายตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 มีทั้งหมดกี่ข้อ?
1. 9 ข้อ
2. 10 ข้อ
3. 11 ข้อ
4. 12 ข้อ

ข้อ 70) ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544?
1. หลักการ
2. ระดับช่วงชั้น
3. สาระการเรียนรู้
4. มาตรฐานการเรียนรู้

ข้อ 71) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้กี่ช่วงชั้น?
1. 2 ช่วงชั้น
2. 3 ช่วงชั้น
3. 4 ช่วงชั้น
4. 5 ช่วงชั้น

ข้อ 72) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ช่วงชั้นละกี่ปี?
1. 2 ปี
2. 3 ปี
3. 4 ปี
4. 5 ปี

ข้อ 73) สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีทั้งหมดกี่กลุ่ม?
1. 5 กลุ่ม
2. 8 กลุ่ม
3. 10 กลุ่ม
4. 12 กลุ่ม

ข้อ 74) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้หลักการในข้อใดในการกำหนดช่วงชั้น?
1. ระดับสติปัญญาของผู้เรียน
2. ระดับความสนใจของผู้เรียน
3. ระดับการพัฒนาของผู้เรียน
4. ระดับความสามารถของผู้เรียน

ข้อ 75) มาตรฐานการเรียนรู้คืออะไร?
1. ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้
2. ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะกระบวนการ
3. ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 76) มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดไว้เพื่อจุดมุ่งหมายในข้อใด?
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการ
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 77) การศึกษาในระบบมีกี่ระดับ?
1. 2 ระดับ คือ ขั้นพื้นฐาน อุดมศึกษา
2. 3 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
3. 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
4. 4 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษา

ข้อ 78) ชั้น ป.4 อยู่ในช่วงชั้นใด?
1. ช่วงชั้นที่ 1
2. ช่วงชั้นที่ 2
3. ช่วงชั้นที่ 3
4. ช่วงชั้นที่ 4

ข้อ 79) มาตรฐานการเรียนรู้มีกี่ลักษณะ?
1. 2 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ภาคบังคับ/ขั้นพื้นฐาน
2. 2 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น/ขั้นพื้นฐาน
3. 3 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ภาคบังคับ/ช่วงชั้น/พื้นฐาน
4. 3 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น/ภาคบังคับ/ขั้นพื้นฐาน

ข้อ 80) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้ได้กับการจัดการศึกษารูปแบบใด?
1. ในระบบ
2. นอกระบบ
3. ตามอัธยาศัย
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 81) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 มีกี่ลัษณะ?
1. 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน
2. 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
3. 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
4. 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมอื่น ๆ

ข้อ 82) เด็กประถมศึกษา มีระยะสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจำนวนเท่าใด?
1. 10 นาที
2. 15 นาที
3. 10-15 นาที
4. 15-20 นาที

ข้อ 83) หนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย มีชื่อว่าอะไร?
1. จินดามณี
2. ประถม ก กา
3. ปฐมมาลา
4. ประถมจินดา

ข้อ 84) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เวลาเรียนช่วงชั้นที่ 1กำหนดไว้ประมาณปีละกี่ชั่วโมง?
1. 800-1000 ชั่วโมง
2. 1000-1200 ชั่วโมง
3. 1200-1500 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 1200 ชั่วโมง

ข้อ 85) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เวลาเรียนช่วงชั้นที่ 2 กำหนดไว้ประมาณปีละกี่ชั่วโมง?
1. 800-1000 ชั่วโมง
2. 1000-1200 ชั่วโมง
3. 1200-1500 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 1200 ชั่วโมง

ข้อ 86) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เวลาเรียนช่วงชั้นที่ 3 กำหนดไว้ประมาณปีละกี่ชั่วโมง?
1. 800-1000 ชั่วโมง
2. 1000-1200 ชั่วโมง
3. 1200-1500 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 1200 ชั่วโมง

ข้อ 87) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เวลาเรียนช่วงชั้นที่ 4 กำหนดไว้ประมาณปีละกี่ชั่วโมง?
1. 800-1000 ชั่วโมง
2. 1000-1200 ชั่วโมง
3. 1200-1500 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 1200 ชั่วโมง

ข้อ 88) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน2544 ชั้นม.1-ม.3 มีเวลาเรียนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง?
1. 3-5 ชั่วโมง
2. 4-5 ชั่วโมง
3. 4-6 ชั่วโมง
4. 5-6 ชั่วโมง

ข้อ 89) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นป.4-6 มีเวลาเรียนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง?
1. 3-5 ชั่วโมง
2. 4-5 ชั่วโมง
3. 4-6 ชั่วโมง
4. 5-6 ชั่วโมง

ข้อ 90) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นป.1-3 มีเวลาเรียนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง?
1. 3-5 ชั่วโมง
2. 4-5 ชั่วโมง
3. 4-6 ชั่วโมง
4. 5-6 ชั่วโมง

ข้อ 91) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 ชั้น ม. 4-6 มีเวลาเรียนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง?
1. 4-5 ชั่วโมง
2. 4-6 ชั่วโมง
3. 5-6 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

ข้อ 92) กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพตนเองคือข้อใด?
1. กิจกรรมแนะแนว
2. กิจกรรมนักเรียน
3. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 93) ข้อใดไม่ใช่สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544?
1. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. ศิลปะ
3. สุขศึกษาและพลศึกษา
4. ภาษาอังกฤษ

ข้อ 94) สาระการเรียนรู้ในข้อใดใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานความคิดและเป็นกลยุทธในการแก้ปัญหาและวิกฤติของชาติ?
1. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. คณิตศาสตร์
3. ภาษาไทย
4. ภาษาอังกฤษ

ข้อ 95) กลุ่มภาษาต่างประเทศกำหนดให้เรียนภาษาในข้อใดทุดช่วงชั้น?
1. ภาษาจีน
2. ภาษาญี่ปุ่น
3. ภาษาฝรั่งเศส
4. ภาษาอังกฤษ

ข้อ 96) มาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นองค์กรในข้อใดสามารถพัฒนาได้เพิ่มเติม?
1. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. สถานศึกษา
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ข้อ 97) ช่วงชั้นใดผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด ความสนใจ และความต้องการ?
1. ช่วงชั้นที่ 2
2. ช่วงชั้นที่ 3
3. ช่วงชั้นที่ 4
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 98) ช่วงชั้นใดจัดหลักสูตรเป็นหน่วยกิต?
1. ช่วงชั้นที่ 2
2. ช่วงชั้นที่ 3
3. ช่วงชั้นที่ 4
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 99) การจัดหลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเองคือช่วงชั้นใด?
1. ช่วงชั้นที่ 1
2. ช่วงชั้นที่ 2
3. ช่วงชั้นที่ 3
4. ช่วงชั้นที่ 4

ข้อ 100) การจัดหลักสูตรมุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้านอยู่ในช่วงชั้นใด?
1. ช่วงชั้นที่ 1
2. ช่วงชั้นที่ 2
3. ช่วงชั้นที่ 3
4. ช่วงชั้นที่ 4













แนวข้อสอบครูผู้ช่วย

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ บทความมีประโยชน์มากๆ



http://oopps.bloggang.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น